HOW TO DEAL WITH LONG COVID ?
LONG COVID คืออะไร? แล้วเราจะจัดการกับมันยังไง?
3 ปี นับตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 มีคนเสียชีวิตแล้วกว่า 6 ล้านคน และยอดผู้ติดเชื้อกว่า 4 ร้อยล้านคนทั่วโลก ซึ่งไวรัส COVID-19 นี้ ยังไม่มีทีท่าที่จะจบลงง่ายๆ โดยไวรัสโควิด-19 นั้น ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ของตัวเองที่แข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อมาต่อสู้กับวัคซีน ที่ผลิตขึ้นมายับยั้งการระบาดในครั้งนี้ แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ แม้ว่าทั่วโลกจะพยายามคิดค้นผลิตวัคซีนมาเท่าไหร่ ไวรัสโควิด-19 นี้มันก็ยังไม่หายไปไหน
ทำให้ปัจจุบัน ผู้คนต่างพากันหันมาสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น เนื่องจากไวรัสโควิดนี้ ได้สร้างความเสียหายอย่างมาก และจะยังคงอยู่กับเราไปอีกนานแน่ ๆ โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ ที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของเราเลย และสุขภาพนั้น เราก็ต้องคอยดูแลให้ดี เพราะเป็นสิ่งเดียวที่เงินไม่สามารถซื้อได้
LONG COVID คืออะไร ?
คือ อาการเมื่อรักษาตัวหายจากโควิด-19 ที่มีอาการหลังจากที่รักษาหายแล้วหรือผู้ที่ติดเชื้อ 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป มีเพียงผู้ป่วยประมาณ 40% ทั่วโลกจะมีอาการที่เรียกว่า “LONG COVID”
ส่วนอาการที่พบนั้น มีหลากหลายและแตกต่างกันไป พบมากในผู้ป่วยที่มีเชื้อลงปอด และมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย โดยอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรืออาการที่ต่อเนื่องภายหลังจากการติดเชื้อโควิด ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ อาจมีอาการอยู่นานอย่างน้อย 2 เดือน โดยอาการที่พบบ่อยมีถึง 6 ระบบ
เราจะรู้ได้อย่างไรเมื่อมีอาการ LONG COVID ?
ตอนนี้ยังไม่มีเครื่องมือวัดที่เป็นมาตรฐานออกมา มีเพียงแค่อาการต่างๆ ดังนี้
อาการที่พบมากที่สุด
เหนื่อยล้า
หายใจไม่อิ่ม
ปวดกล้ามเนื้อ
ไอ
ปวดหัว
เจ็บข้อต่อ
เจ็บหน้าอก
การรับรู้กลิ่นเปลี่ยนไป
อาการท้องร่วง
การรับรสเปลี่ยนไป
ภาวะอาการแทรกซ้อนในระยะยาว
- กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)
- สมองล้า (Brain Fog)
- ภาวะพร่องทางระบบประสาทอัตโนมัติ (Dysautonomia)
- ภาวะ Guillain – Barre Syndrome
- โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)
- โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
ผลข้างเคียงจากการรักษา COVID-19
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ภาวะเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD)
บุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ?
- ผู้สูงอายุ
- เพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- ผู้ที่มีภาวะอ้วน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือมีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
- ผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนัก หรือผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ
- คนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน
SO, WHAT WE GONNA DO ?
หายจากโควิดแล้ว ยังต้องเสี่ยงที่จะมีอาการหลงเหลืออยู่อีก โดยตอนนี้ยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ เพราะว่ายังไม่สามารถหาเหตุผลของอาการได้อย่างแน่ชัด เราจึงต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติของตัวเอง ซึ่งแพทย์จะคอยรักษาตามอาการเท่านั้น หากพบความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที
นอกจากนี้ ควรตรวจร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมอ จะได้รู้เท่าทันความผิดปกติที่เกิดกับร่างกายของตนเองได้ และที่สำคัญ อย่าออกกำลังหักหรือหักโหมเกินไป เพื่อให้ปอดไม่ทำงานหนัก ควรปรับเป็นการออกกำลังกายเบาๆ ก่อน ค่อยๆ รอให้ร่างกายฟื้นตัว
ถึงอย่างไรก็ตาม
ตอนนี้เรายังไม่มีการรักษาโดยตรง เพราะยังไม่มีเครื่องมือที่ได้มาตรฐานในการตรวจสอบอาการที่แน่ชัดได้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวิจัย และศึกษาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อไวรัสโควิด และภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ เพื่อการจัดการรักษาและจ่ายยาที่ถูกต้อง
ดังนั้น เราจึงต้องยอมรับว่า โควิด 19 อยู่กับเราไปอีกนาน และจะไม่หยุดพัฒนาสายพันธุ์ตัวเอง เพื่อมาครองโลกใบนี้อย่างแน่นอน เราจึงต้องหาทางทีจะรับมือที่จะอยู่ร่วมกับโควิดนี้ให้ได้
WE HAVE TO DEAL WITH IT!
เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส!!
เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ ยังมีการระบาดของไวรัสโควิดอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ดังนั้นเราจึงต้องเปลี่ยนวิกฤตนี้ ให้เป็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับตัวเอง เพื่อที่เราจะได้อยู่รอดในสภาวะแบบนี้ ซึ่งในปัจจุบัน ธุรกิจที่น่าสนใจที่ตอบโจทย์กับนักลงทุน และเป็นโอกาสดีมากๆ ในตอนนี้ คือ การลงทุนในธุรกิจ Health Care ที่คุณสามารถพลิกวิกฤต ให้เป็นโอกาสได้ด้วยมือคุณเอง
กระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งการดำเนินงานภายใต้นโยบายรัฐบาลนี้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง
โดยตลาดกลุ่มสินค้าและธุรกิจบริการสุขภาพในประเทศไทย มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 107,000 ล้านบาท และมีจำนวนผู้รับบริการเป็นชาวต่างชาติมากกว่า 1.2 ล้านครั้ง (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พ.ศ. 2557) อีกทั้งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโรงพยาบาลที่ดีที่สุดของโลกในปี พ.ศ.2557 อีกด้วย (ข้อมูล จากเว็บไซต์ Medical Travel Quality Alliance, 2014)
ในตลาดการท่องเที่ยวโลก การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีมูลค่าประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยประเทศไทยได้ส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 270 พันล้านบาท และเป็นอันดับสามของโลกที่มีส่วนบ่งทางการตลาดมากที่สุด
โดย 90% อยู่ในธุรกิจด้านความงามและการชะลอวัย ธุรกิจการแพทย์เชิงป้องกัน ด้วยความได้เปรียบทางด้านค่ารักษาพยาบาลที่ไม่สูงนัก และมีบริการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานระดับสากล
อีกทั้งยังมีมีโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองมาตราฐาน JCI (Joint Commission International) มาแล้วกว่า 40 แห่ง ทำใหชาวต่างชาติจำนวนมากสนใจมารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก
จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา ประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ฟื้นตัวและรับมือกับการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 เป็นอันดับ 1 ของโลก จาก 184 ประเทศทั่วโลก ทั้งด้านการฟื้นตัวที่บรรเทาการระบาด และด้านการรับมือกับวิกฤตความรุนแรงได้ดี
IF WE TALKING ABOUT HEALTHCARE BUSINESS!
กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเป็นธุรกิจ Healthcare อย่างเดียวในไทยที่เราสามารถลงทุนได้ และปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับ ได้แก่ ราคาเหมาะสม การให้บริการมีคุณภาพ ที่ได้มาตรฐานสากล มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง มีเทคโนโลยีทันสมัย มีการต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรีที่ดีและมีสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม
ซึ่งโครงการ Natai Medical Center & Resort นั้นเป็นที่ตอบโจทย์มากในปัจจุบัน รีสอร์ตหรูระดับ 6 ดาว ควบคู่ไปกับโรงพยาบาลระดับพรีเมียม เพื่อตอบสนองความต้องการของเทรนด์ดูแลสุขภาพที่มาแรงในตอนนี้ โดยสอดรับกับตลาดสุขภาพระดับโลก และสนองนโยบาย Medical Hub ในแผนยุทธศาสตร์ชาติของประเทศไทย ที่มุ่งเน้นพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
โครงการ Natai Medical Center & Resort เป็นโครงการที่ร่วมมีกับบริษัท CISSA GROUP มีมูลค่าโครงการประมาณ 4,600 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่หาดนาใต้ จ.พังงา พื้นที่โครงการมีที่ตั้งติดริมชายหาดมากกว่า 450 เมตร ใกล้สนามบิน โดยห่างจากสนามบินภูเก็ตเพียง 30 นาที และ สนามบินนานาชาติภูเก็ตแห่งที่ 2 ในจังหวัดพังงา เพียง 10 นาที สถานที่ตั้งเป็นส่วนตัว มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลกที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวทั่วไป รวมถึงทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพ ทำให้คนไข้สามารถท่องเที่ยวได้ทั้งก่อนและหลังการรักษาได้อย่างผ่อนคลาย
ลงทะเบียนเพื่ออัพเดตข้อมูลข่าวสาร โปรโมชั่น และสิทธิพิเศษต่างๆ
Natai Medical Center & Resort
- Cissa Content Admin
- เมษายน 29, 2022
- 12:02 pm